เทคโนโลยี
หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการในการนำความรู้เรื่องแนวคิด
มาประยุกต์องค์ประกอบหรือองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างเป็น
ระบบเพื่อให้การดำเนินงานในวงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของเทคโนโลยี สามารถ
จำแนกออกได้ 3 ลักษณะ1. เทคโนโลยีในลักษณะกระบวนการ (process) เป็นการ
ใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำ
ไปสู่ผลในการปฏิบัติ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้การะบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูล
เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล
หลักการใช้เทคโนโลยี1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีต้องช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและรวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้
2. ประสิทธิผล (productivity) ต้องช่วยให้การทำงานได้ผลออกมาอย่างเต็มที่
3. ประหยัด (economy) ทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าทุน
เทคโนโลยีกับงานสาขาต่างๆ
เช่น
1. ทางการทหาร หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้ แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้
อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทางการแพทย์ หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้ แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้
อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้สหวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวคิด เครื่องมือ
เทคนิคและวิธีกาต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา1. สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์
ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา1. สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์
ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
นวัตกรรม
หมายถึง ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการแก่ปัญหาหรือปรับปรุงงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ ทดลอง จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้
นำมาใช้ส่งเสริม ปรับปรุงระบบทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะนำมาปรับปรุงงานเดิมให้ดีขึ้น
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยทดลอง นำมาใช้แล้วสามารถแก้ปัญหาได้
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน
4. ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง
ขอบเขตของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
1. หน้าที่ในการจัดการศึกษา
มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้แนวทางและพัฒนาการศึกษาและการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ คิดหาวิธีแก้ปัญหา การวิจัย การออกแบบ ให้แก่แหล่งการเรียนทั้งหลาย
3. แหล่งการเรียน ที่จะนำมาทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น ได้ผลตามจุดหมายของการเรียน
4. ผู้เรียน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญสาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา
1. การเพิ่มจำนวนประชากร มีผลทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมเกิดปัญหา ดังนั้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้
จะช่วยให้การศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิตสะดวกขึ้น
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ได้แก่
หลักสูตร เนื้อหา วิธีสอน ให้เหมาะสมกับเครื่องมือหรือวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
2. หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ คิดหาวิธีแก้ปัญหา การวิจัย การออกแบบ ให้แก่แหล่งการเรียนทั้งหลาย
3. แหล่งการเรียน ที่จะนำมาทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น ได้ผลตามจุดหมายของการเรียน
4. ผู้เรียน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญสาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา
1. การเพิ่มจำนวนประชากร มีผลทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมเกิดปัญหา ดังนั้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้
จะช่วยให้การศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิตสะดวกขึ้น
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ได้แก่
หลักสูตร เนื้อหา วิธีสอน ให้เหมาะสมกับเครื่องมือหรือวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียน
เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
2. สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
4. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยไปด้วย
6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาไทย
2. สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
4. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยไปด้วย
6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาไทย
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้พูดและแสดงความคิดเห็นจึงคอยเชื่อฟังคนอื่นเมื่อนานเข้าทำให้ขาดความนับถือคนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ในอดีตหลักสูตรเนื้อหาไม่เอื้อต่อผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนขาดการชื่นชมธรรมชาติแวดล้อมตนเอง การจัดการศึกษาส่งเสริมให้เขาได้เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้น
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น